วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard


เวลาทำรายงาน แล้วต้องเขียน Citing and Referencing แบบ Harvard อาจเป็นเรื่องยุ่งยาก ลำบาก สำหรับหลายๆคนที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่หากเคยทำมาหลายๆชิ้นแล้ว ก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่าย และคุ้นเคย ในฐานะที่ทีมงานเอง เคยทำรายงานที่ต้องเขียน Citing and Referencing แบบนี้มาหลายครั้งแล้ว จึงได้แปลและสรุป การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard ฉบับของของ Imperial College London เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับเพื่อนๆ น้องๆหลายคนที่กำลังเรียนอยู่

Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

Referencing เป็นการยอมรับ และขอบคุณถึง idea ผู้อื่น ที่นำมาใช้ในงานเขียนของเรา ซึ่งอาจได้มาจากการอ่านหนังสือ website หนังสือ บทความ หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่อ่านงานของเราสามารถหาที่มาของงานเขียนนี้ได้ ซึ่งเราก็จะได้เครดิตในความพยายามค้นหาข้อมูล และคุณภาพของเนื้อหา ซึ่งไม่ได้เขียนงานขึ้นมาลอยๆ จากการเดาหรือคิดเอาเองโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิง แต่มีที่มาที่ไป มีงานเขียนรับรอง ที่สำคัญคือ Referencing ยังช่วยให้เราไม่ถูกกล่าวหาว่าคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นมาเป็นงานของตนเอง หรือ ที่เรียกกันว่า Plagiarism นั่นเอง เพราะเราได้เขียนระบุลงไปในงานแล้ว ว่าข้อความส่วนนี้นำมาจากไหน เป็นแนวคิดของใคร

เรียนปริญญาโทยังไงให้ได้ดี

เรียนปริญญาโทยังไงให้ได้ดี

ตอนเรียนปริญญาตรี มีบางวิชาที่ว่ายากแล้ว แต่พอเรียนโทกลับยากยิ่งขึ้นไปอีก ไหนจะต้องเรียนไปทำงานไป งานกลุ่ม แล้วยังต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบให้ทันอีก แถมบางครั้งยังลางานวันสอบไม่ได้ จึงคำถามในใจหลายๆคนว่า เรียนโทยังไงให้ได้ดี

ทำอย่างไรกับเนื้อหาที่ยากและเข้มข้นขึ้น

ในฐานะที่ทีมงานเองก็ผ่านประสบการณ์การเรียนโทมาแล้ว จึงมีคำแนะนำสำหรับคนที่เรียนอยู่ ว่าเนื้อหาปริญญาโทยากกว่าปริญญาตรี อย่างวิชาเศรษฐศาสตร์ ปริญญาตรีเรียนเทอมละเล่ม ปริญญาโท เทอมเดียวเนื้อหารวม 2-3 เล่ม คำแนะนำสำหรับคนที่เรียนอยู่จึงแนะให้เรียนแล้ว พอมีเวลาว่างให้อ่านทบทวนไว้ก่อนจะดีที่สุด จะได้ไม่มีอะไรคอยรบกวนจิตใจอยู่เรื่อยๆ ว่าวิชานี้เรียนมาไม่รู้เรื่องเลย จะสอบกลางภาคแล้ว กลัวทำไม่ได้

ตัวอย่างเช่น วิชาการเงิน ทุกครั้งที่มีควิซให้ทำออนไลน์ ผู้เขียนจะอ่านทบทวนก่อนทำควิซเองทุกครั้ง พอจะสอบวิชานี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่หนักหนาย่ำแน่สำหรับเรา ต่างจากเพื่อนที่ไม่ได้อ่าน ใช้วิธีลอกควิซเพื่อนที่สอบได้คะแนนสูง พอสะสมเนื้อหาที่ไม่รู้เรื่องมาจนถึงวันสอบก็ย่ำแย่ ทำข้อสอบไม่ทันกัน บางข้อยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอยู่ในเนื้อหาส่วนไหน

การอ่านทบทวนอยู่เสมอยังมีประโยชน์ในแง่ที่ว่า หากช่วงสอบไม่มีเวลาอ่าน ลางานไม่ได้ ก็มีความรู้ความเข้าใจที่สะสมมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอจะอ่านก็ใช้เวลาทำความเข้าใจน้อยลง สามารถอ่านได้ทันในช่วงเวลาที่มีอยู่จำกัด

ถึงแม้จะเป็นคนเก่ง แต่หากไม่ขยัน อ่านหนังสือน้อย ถ้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มีแต่คนเก่งๆเข้ามาเรียนแล้ว ก็อาจจะได้คะแนนเพียงเท่า Mean ก็เป็นได้ เรื่องนี้จึงบอกได้เพียงว่า No input, no return. ถึงจะเป็นคนเก่งอย่างไร ก็ไม่สามารถมีผลการเรียนที่โดดเด่นได้ หากไม่มีความพากเพียรพยายาม ลงแรง ใส่ใจกับมัน

แล้วจะมีเวลาไปเจอเพื่อน แฟน หรือทำอย่างอื่นได้อย่างไร

มีรุ่นพี่คนหนึ่งได้บอกกับผู้เขียนในขณะที่เรียนโทอยู่ว่า ถึงแม้การเรียนจะเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก็อย่าถึงกับอ่านแทบเป็นแทบตาย จนละเลยโอกาสอื่นๆในชีวิต การมุ่งแต่จะเอาเรื่องเรียนให้ได้เกรดดี จนละเลยเรื่องส่วนตัว เช่นคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนรัก ครอบครัว หรือโอกาสในการร่วมกิจกรรมดีๆก็ตาม เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า หากมีการอ่านทบทวนสม่ำเสมอ แบ่งเวลาให้ดี ก็จะยังสามารถมีเวลาไปกินข้าว เจอเพื่อนๆ แฟน หรือครอบครัวได้ หรือแม้กระทั่งการเข้าร่วมกิจกรรมดีๆต่างๆก็ตาม ผู้เขียนเอง แม้จะต้องเป็นตัวแทนรุ่นไปร่วมกิจกรรม ก่อนการสอบสองวิชาที่ยาก ก็ยังสามารถทำข้อสอบได้ อ่านหนังสือทัน เพราะเคยอ่านทบทวนมาก่อนนี่เอง ซึ่งประสบการณ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนั้นก็เป็นประสบการณ์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อนที่ร่วมมือกัน หรือได้ทราบว่า หากเราไม่เครียด วิตกกังวลมากไป คงได้ทำตามแผนที่คิดไว้ และได้รางวัลมาครองสมความตั้งใจไปแล้ว

กับเรื่องงานที่หนักหนา ไม่มีเวลามาเรียน หยุดวันสอบไม่ได้ จะทำอย่างไร

มีเพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง ที่แม้กระทั่งวันที่ต้องไปสอบ นายยังสั่งงานต่อตอนเย็นอีก ทำให้เพื่อนคนนี้ต้องลุกเดินออกมาเลย แล้วฝากเพื่อนซื้อข้าวให้ นั่งทานหน้าห้องก่อนเข้าห้องสอบ แต่เพื่อนคนนี้ช่างโชคดี เพราะเพื่อนๆในกลุ่ม เวลามีชีทอะไร ก้จะ Xerox เผื่อกันอยู่แล้ว มีอะไรช่วยกันได้ ก็จะช่วย ทำให้เพื่อนคนนี้ยังรู้สึกดี มีกำลังใจในการสอบอยู่

เรื่องนี้จะเห็นว่า การได้เคยอ่านสะสม ทบทวนเอาไว้ ก็ยังเป็นคำตอบอีกเช่นกัน ที่สำคัญ คือ ตั้งสติ มีสมาธิก่อนเข้าห้องสอบ หากมัวแต่ Panic ตื่นตกใจ กังวล ก็คงมีผลต่อการทำข้อสอบอย่างแน่นอน มีวิชาหนึ่งที่ผู้เขียนจดโน้ต 1 กระดาษ A 4 เข้าห้องสอบตามที่อาจารย์อนุญาตไว้ไม่ทัน จดได้เพียงหน้ากว่าๆ ตอนนั้นอยากจะคร่ำครวญ แต่ก็รู้ว่าไม่มีประโยชน์ จึงทำใจให้สงบ พอสอบออกมาก็ยังได้ A อยู่ แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพราะอ่านเนื้อหาไว้ก่อนแล้วเข้าใจนั่นเอง

อยากบอกว่าเรื่องงานที่ Tight จัด ไม่มีเวลานี่ เราก็ได้แต่ทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้นั่นเอง ปล่อยวาง แต่ไม่ปล่อยเลย คือ ตั้งใจ ทำส่วนที่เราทำได้ให้ดี นอกเหนือจากนั้น เราไม่สามารถควบคุมผลที่ออกมาได้ จะออกมาเป็นอย่างไรก็ได้แต่เข้าใจกับมัน ทำครั้งต่อๆไปให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง

แล้วไหนจะงานกลุ่มมากมายอีก ทำอย่างไรดี

แนะนำให้ ในช่วงที่งานไม่ยุ่ง มีอะไรที่ทำได้ ก็ทำงานกลุ่มไปก่อน เพื่อที่ว่า ช่วงที่ยุ่ง ทำงานกลุ่มไม่ไหว เพื่อนจะได้เข้าใจ เห็นว่าเคยช่วยทำไปแล้ว ไม่ได้จะเอาเปรียบเค้า แต่ก็นั่นแหละ มีอะไรช่วยได้ก็ช่วย การฝึกทำอะไรให้เร็ว เช่น การทำงาน หรืองานกลุ่มก็เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง แต่งานที่ออกมาก็ต้องยังมีคุณภาพพอสมควรด้วย ไม่อย่างนั้นก็คงใช้ไม่ได้เหมือนกัน

ถ้ามีงานอะไรแล้วรีบลงมือทำ เคลียร์ให้เรียบร้อยดีแล้ว ก็จะได้มีเวลาส่วนตัวไปหลั่นล้ากับเพื่อน กับแฟน อยู่ที่บ้าน มีความสุขได้ด้วยค่ะ เป็น Work Study Life Balance อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม การทำงานกลุ่มในระดับปริญญาโท ควรเป็นการคุยงานกัน แบ่งงานโดยรวม แยกย้ายกันไปทำ จะช่วยได้ดีมาก เช่น 2 คนนี้ช่วยกันทำ 2 ข้อนี้ มีอะไรก็ปรึกษากันในกลุ่ม ช่วยกันทำได้ ทำให้ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเอาเวลามาผูกติดกัน ไม่ต้องนั่งทำพร้อมกันตลอด ต่างมีอิสระในการจัดการกับเวลาทำงานของตัวเอง สะดวก ไม่วุ่นวาย งานก็เสร็จเรียบร้อยดี แล้วยังมีเวลาไปทำอย่างอื่นกันอีกด้วย เย้เย้ (^o^)