วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

จากที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 2 ว่าขั้นตอนการทำ Referencing มี 2 ขั้นตอน คือ 1. การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน และ 2. การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม ซึ่งขั้นตอนที่ 1 ได้อธิบายไว้ในตอนที่ 2-5 แล้ว ในตอนที่ 6 นี้ จะอธิบายถึงขั้นตอนที่ 2 ต่อไป

2.การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม

Reference List หมายถึง รายชื่อของแหล่งที่มาทั้งหมดที่ได้อ้างถึง (Citing) ไว้ในส่วนของเนื้อหาที่ได้เขียนไป นำมารวมไว้ใน Reference List นี้เพียง List เดียว ไม่ว่าจะมาจากหนังสือ บทความ และอื่นๆ ไม่ต้องแยกเป็นหลายลิสท์ตามประเภทของแหล่งที่มา

· ลิสท์นี้ ควรเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่ง

· รูปแบบการเขียนถึงแหล่งที่มาแต่ละรายการใน Reference List ให้ใช้ตามรูปแบบเฉพาะของประเภทแหล่งที่มานั้นๆ เช่น หนังสือ บทความจาก Paper Journals หรือ E-lournals ฯลฯ

Reference list นี้ ต้องรวมรายการทั้งหมดที่เราได้อ้างอิง (Citing) และรายการที่เราคัดลอกประโยคของเค้ามา (Direct Quoting)

ตัวอย่างของหน้า Reference List ในตอนท้ายของงานเขียน ได้แก่

Laudon, K. & Laudon K. (2007) Securing Information Systems, In: Management Information Systems: Managing the Digital Firm (10th edition). New Jersey, Pearson, pp.312-351.

Vijayaraghavan, V., Paul, S., Rajarathnam, N. (2010) iMeasure Security (iMS): A Framework for Quantitative Assessment of Security Measures and its Impacts. Information Security Journal, 19 (4), 213.

HelpNetSecurity. (2003) Implementing Basic Security Measures. [Online] Available from:http://www.net-security.org/article.php?id=458&p=1 [Accessed 18th November 2010]


Bibliography เราอาจมีการใช้ที่ปรึกษาในการเขียนงาน แต่ว่าไม่ได้เขียนอ้างอิง (Citing) ไว้ ก็สามารถนำมาใส่ในส่วนของ Bibliography ตอนท้ายของงานเขียนได้ ทั้งนี้ รายการเหล่านี้ต้องเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่งเช่นเดียวกับ Reference List แต่ถ้าสามารถเขียนอ้างอิงทุกแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้ามาได้ ก็ใช้แค่ Reference List ไม่ต้องมี Bibliography ส่วนกรณีที่ต้องการแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงสิ่งที่ได้ทำการค้นคว้ามา แต่ไม่ได้ใช้ในงานเขียนนั้นๆ ก็สามารถแสดงใน Bibliograpgy เพื่อบอกความพยายามได้

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่ 4 Citing and Quoting from Multi-media and Online Resources

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 4 Citing and Quoting from Multi-media and Online Resources

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

เนื่องจากข้อมูลจาก Multi-media and Online Resources มักไม่ค่อยมีชื่อผู้แต่งปรากฏ จึงมีการกำหนดวิธีการ Citing ไว้ดังนี้

Electronic journal (e-journals) articles:

การอ้างอิงจาก E-journal article สามารถทำได้โดยวิธีเดียวกับการทำ Citing ปกติ คือ ใส่นามสกุลผู้แต่ง และปีที่ตีพิมพ์

World Wide Web (WWW):

· ถ้าในเว็บไซต์มีการระบุผู้แต่ง และวันที่ตีพิมพ์ไว้แล้ว ก็ทำการ Citing ตามปกติดังที่ ที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 2 และ 3

· ถ้าเว็บไซต์ไม่ได้ระบุผู้แต่งไว้ บอกแต่เพียงองค์กรที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ ให้ใช้ชื่อองค์กรนั้นเป็น ‘Corporate Author’

ตัวอย่าง - Corporate Author:

The Department of Health (2001)

ถ้าไม่มีการระบุผู้แต่งหรือ Corporate Author ให้ใช้ชื่อเอกสารเป็นจุดหลักในการอ้างอิง


CD-ROMs:

ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อของ CD-ROM เป็นจุดหลักในการอ้างอิง

ตัวอย่าง

Encyclopaedia Britannica (2001)

Multi-media:

หากมีการอ้างอิงถึงวีดิโอ ดีวีดี หรือเทปคาสเซ็ท ให้ใช้ชื่อซีรี่ส์เป็นชื่อผู้แต่ง

ตัวอย่าง

World in Action (2002)

ตอนที่ 3 Quoting in the Text

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 3 Quoting in the Text

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

ในการทำ Citing ในเนื้อหาที่เขียน นอกจากเราจะเขียนอ้างถึงที่มาว่า ผู้เขียนนามสกุล......ปี.......กล่าวว่าอย่างไร (โดยเขียนใหม่ด้วยภาษาของเรา หรือ paraphrase) โดยมีวิธี citing ดังที่กล่าวมาในตอนที่ 2 แล้ว เรายังสามารถยกเอาประโยคที่เค้าเขียนมาได้ทั้งประโยคด้วยซึ่งเรียกว่า Quoting สามารถทำได้โดย นอกจากชื่อผู้แต่งแล้ว ให้

· ระบุหน้า ข้างหลังปีที่ตีพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรายกประโยคนั้นมาจากหน้าไหน

· ใช้เครื่องหมาย Single Quotation Mark หรือ คลุมประโยคที่เรายกมา

ตัวอย่าง – Short Quotation ข้อความที่ยกมายาวไม่เกิน 2 บรรทัด

Simpson (2002: p.6) declared that the explosive behaviour was unexpected.

ตัวอย่าง – Long Quotation ข้อความที่ยกมายาวเกิน 2 บรรทัด

Boden (1998: p.72) states:

In 1664, The most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men. This would suggest that women were not the passive and obedient members of society that men would have liked to believe they were.


หรือ จะระบุ นามสกุลผู้แต่ง ปีที่ตีพิมพ์ และหน้า ในบรรทัดถัดจากข้อความที่ยกมาก็ได้ ดังนี้

In 1664 the most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men. This would suggest that women were not the passive and obedient members of society that men would have liked to believe they were.

(Boden 1998: p.72)

นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถละข้อความบางคำจากส่วนที่ยกมาได้ โดยใช้จุด 3 จุด แทนข้อความที่ละไว้ ไม่เขียนลงไปด้วย

ตัวอย่าง – การละบางคำในข้อความที่ยกมา

Boden (1998: p.72) states:

In 1664 the most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men women beating or dominating a man was a particularly sensitive issue as it threatened the perpetuation of the patriarchal society …’

การคัดลอก ชาร์ท แผนภาพ รูปภาพ เป็นต้น ก็ควรจะทำการ Direct Quote เช่นกัน เพื่อยอมรับ ขอบคุณ และระบุถึงผู้ทำชาร์ท แผนภาพ รูปภาพ เหล่านั้น รวมทั้งหน้าที่นำข้อมูลดังกล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่เราเขียนเนื้อหา หรือคำบรรยายใต้ภาพก็ตาม

ตอนที่ 2 การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 2 การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

ขั้นตอนการทำ Referencing

มี 2 ขั้นตอน คือ 1. การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน และ 2. การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม ซึ่งในตอนที่ 2-5 จะกล่าวถึง การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียนก่อน ส่วนขั้นตอนที่ 2 จะอธิบายในตอนที่ 6 ภายหลัง

1. การทำ Citing ในเนื้อหาที่เขียน เมื่อเรานำความคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานเขียนของเรา โดยอาจนำมาจากหนังสือ บทความ ฯลฯ เราจะต้องทำการยอมรับและขอบคุณ โดยแจ้งถึงที่มานั้น โดยเขียนอ้างถึง นามสกุลผู้เขียน และปีที่ทำการพิมพ์ ในกรณีที่งานนั้นมีผู้แต่ง 2 คน ก็ต้องเขียนถึงทั้งสองคนลงไป ส่วนรายละเอียดอื่นๆของงานนั้น เช่น ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์ และอื่นๆ ค่อยแจ้งในขั้นตอนที่ 2 คือ การทำ referencing ในส่วนของบรรณานุกรมทีหลัง

ตัวอย่าง – การอ้างอิงผู้เขียน 1 คนในเนื้อหาที่เราเขียน

The work of Smith (2001) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene.

ตัวอย่าง – การอ้างอิงผู้เขียน 2 คนในเนื้อหาที่เราเขียน

The work of Theakston & Boddington (2001) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene.

แต่ถ้ามีผู้เขียนถึง 3 คน หรือมากกว่าให้ใช้ตัวย่อ ‘et al.หลังนามสกุลผู้แต่งคนแรก

ตัวอย่าง

The work of Smith et al. (2001) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene. Theakston & Boddington (2001) however, considered that ….

ถ้ามีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอีกชิ้นหนึ่งแต่ผู้เขียนเป็นคนเดิม และเขียนขึ้นในปีเดียวกับที่ได้อ้างอิงถึงไปแล้ว ให้ใส่อักษรตัวเล็กตามหลังปีที่พิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่ามาจากงานเขียนคนละชิ้นกัน

ตัวอย่าง – ผู้เขียนคนเดิม ในปีเดียวกัน แต่เป็นงานคนละชิ้น

The work of Smith (2001a) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene.

การ Citing จากบทที่เขียนโดยผู้เขียนคนละคน

หนังสือบางเล่มก็มีหลายบทซึ่งเขียนโดยผู้เขียนคนละคนกัน การอ้างอิงถึงงานเขียนแบบนี้ ให้ใส่ชื่อผู้เขียนของบทที่เรานำมาใช้ ไม่ควรใส่ชื่อผู้รวบรวมหนังสือเล่มนั้น

การ Citing โดยผู้เขียนนำเนื้อความมาจากผู้เขียนอีกคนหนึ่งอีกที ให้เขียนดังนี้

ตัวอย่าง

Ellis (1990) cited by Cox (1991) discusses ….

ในตัวอย่างนี้ หมายถึง เราอ้างถึงบทความของ Cox โดย Cox นำความคิดของ Ellis มาใช้อีกที

ตอนที่ 1 Citing and Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 1 Citing and Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style

ของ Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

เวลาทำรายงานแล้วต้องทำ Citing and Referencing แบบ Harvard อาจเป็นเรื่องยุ่งยาก ลำบาก สำหรับหลายๆคนที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่หากเคยทำมาหลายๆชิ้นแล้ว ก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่าย และคุ้นเคย ในฐานะที่ทีมงานเอง เคยทำรายงานที่ต้องเขียน Citing and Referencing แบบนี้มาหลายครั้งแล้ว จึงได้แปลและสรุป การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard ตาม Guideline ของ Imperial College London เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับเพื่อนๆ และน้องๆหลายคนที่กำลังเรียนอยู่

Citing and Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

Referencing เป็นการยอมรับ และขอบคุณถึง idea ผู้อื่น ที่นำมาใช้ในงานเขียนของเรา ซึ่งอาจได้มาจากการอ่านหนังสือ website บทความ หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่อ่านงานของเราสามารถหาที่มาของงานเขียนนี้ได้ ส่วนเราก็จะได้เครดิตในความพยายามค้นหาข้อมูล และคุณภาพของเนื้อหาซึ่งไม่ได้เขียนขึ้นมาลอยๆจากการเดาหรือคิดเอาเองโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิง แต่มีที่มาที่ไป มีงานเขียนรับรอง ที่สำคัญคือ Referencing ยังช่วยให้เราไม่ถูกกล่าวหาว่าคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นมาเป็นงานของตนเอง หรือ ที่เรียกกันว่า Plagiarism นั่นเอง เพราะเราได้เขียนระบุลงไปในงานแล้ว ว่าข้อความส่วนนี้นำมาจากไหน เป็นแนวคิดของใคร