วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

จากที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 2 ว่าขั้นตอนการทำ Referencing มี 2 ขั้นตอน คือ 1. การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน และ 2. การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม ซึ่งขั้นตอนที่ 1 ได้อธิบายไว้ในตอนที่ 2-5 แล้ว ในตอนที่ 6 นี้ จะอธิบายถึงขั้นตอนที่ 2 ต่อไป

2.การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม

Reference List หมายถึง รายชื่อของแหล่งที่มาทั้งหมดที่ได้อ้างถึง (Citing) ไว้ในส่วนของเนื้อหาที่ได้เขียนไป นำมารวมไว้ใน Reference List นี้เพียง List เดียว ไม่ว่าจะมาจากหนังสือ บทความ และอื่นๆ ไม่ต้องแยกเป็นหลายลิสท์ตามประเภทของแหล่งที่มา

· ลิสท์นี้ ควรเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่ง

· รูปแบบการเขียนถึงแหล่งที่มาแต่ละรายการใน Reference List ให้ใช้ตามรูปแบบเฉพาะของประเภทแหล่งที่มานั้นๆ เช่น หนังสือ บทความจาก Paper Journals หรือ E-lournals ฯลฯ

Reference list นี้ ต้องรวมรายการทั้งหมดที่เราได้อ้างอิง (Citing) และรายการที่เราคัดลอกประโยคของเค้ามา (Direct Quoting)

ตัวอย่างของหน้า Reference List ในตอนท้ายของงานเขียน ได้แก่

Laudon, K. & Laudon K. (2007) Securing Information Systems, In: Management Information Systems: Managing the Digital Firm (10th edition). New Jersey, Pearson, pp.312-351.

Vijayaraghavan, V., Paul, S., Rajarathnam, N. (2010) iMeasure Security (iMS): A Framework for Quantitative Assessment of Security Measures and its Impacts. Information Security Journal, 19 (4), 213.

HelpNetSecurity. (2003) Implementing Basic Security Measures. [Online] Available from:http://www.net-security.org/article.php?id=458&p=1 [Accessed 18th November 2010]


Bibliography เราอาจมีการใช้ที่ปรึกษาในการเขียนงาน แต่ว่าไม่ได้เขียนอ้างอิง (Citing) ไว้ ก็สามารถนำมาใส่ในส่วนของ Bibliography ตอนท้ายของงานเขียนได้ ทั้งนี้ รายการเหล่านี้ต้องเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่งเช่นเดียวกับ Reference List แต่ถ้าสามารถเขียนอ้างอิงทุกแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้ามาได้ ก็ใช้แค่ Reference List ไม่ต้องมี Bibliography ส่วนกรณีที่ต้องการแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงสิ่งที่ได้ทำการค้นคว้ามา แต่ไม่ได้ใช้ในงานเขียนนั้นๆ ก็สามารถแสดงใน Bibliograpgy เพื่อบอกความพยายามได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น