วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Tips การทํา Reference ให้ได้คะแนนดี

เชื่อหรือไม่ว่า แม้จะไม่มีคะแนนสําหรับทํา Reference แต่ Reference ก็มีผลต่อการให้คะแนนครับ

  เพราะ Professor หรือ ผู้ตรวจ นั้น ต้องตรวจ Assignment จํานวนมาก จึงไม่สามารถตรวจตาม Criteria ได้ทุกคน โดย ผู้ตรวจจะสุ่มตรวจโดยวิธี Scan อ่าน Text ก่อน 1 รอบ หลังจากนั้น จะพยายาม อ่าน Key and Theme ใน Assignment ว่าตอบโจทย์ ไหม แน่นอนว่า ผู้ตรวจมี Guide ในการตรวจอยู่แล้ว จึงสามารถ ตรวจได้ไวและอีกวิธีที่ ดู ว่าค้นคว้ามากแค่ไหนคือดูจาก Reference แนบท้าย Reference แนบท้ายที่ดีไม่จําเป็นต้องเยอะ เพราะเยอะไป ก็ไม่ผล แถมบางทีดูว่า เราค้นคว้าไม่เป็นอีก ผู้ตรวจ อาจ สันนิษฐาน ว่าเราไม่รู้เรื่อง หรือ ค้นคว้า มาไม่ตอบโจทย์  

Reference ที่ดี ควรมี Text And Author ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับ งานที่เราค้นคว้า และ ยิ่ง Author เป็นผู้มีชื่อเสียงยิ่งดี  

วิธีจัดทำ Reference ที่ดี และ สั้น อีกวิธีคือ นอกจาก Reference ที่เรานำมาใช้ใน Body ของ Essay เราแล้ว เราสามารถนำ ชื่อ Text And Author จาก Text ที่เราใช้เรียน หรือ ที่เราใช้ค้นคว้า เพราะ Text เหล่านี้ ผู้แต่งมักนำข้อมูลมาจากเล่มอื่นแล้วมาเรียบเรียงใหม่ใส่เพิ่ม เช่นกัน ก็กลาย เป็น Text ใหม่ หากจะนำมาใส่ควรใส่ 2-3 Reference ของ Text ที่เราใช้ เรียน หรือ อ้างอิงพอ เพื่อไม่ให้เป็นที่สงสัยของผู้ตรวจ ว่า เรา Copy ท้ายเล่ม Text เรียนมา และ ให้ดี เราควร จัด Order ของ Author ใน Reference ของเราใหม่ครับ

  ทําเนียนๆ จะทําให้ผู้ตรวจคิดว่าเรา ขยัน ค้นคว้ามาดี จึงอาจไม่ตรวจเราละเอียดนัก ส่งผลให้ คะแนนดีกว่าควรจะเป็นก็เป็นได้




วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Marking Criteria นั้นสําคัญไฉน

ในการตรวจ Assignment และ ให้คะแนนแต่ละครั้งนั้น มีเพื่อนๆหลายท่านไม่ได้ใส่ ใจ Marking Criteria ที่อยู่ด้านล่างของ คำสั่งรายงาน มากนัก แต่ พี่อยากจะให้น้องๆ สนใจให้ความสำคัญหน่อยครับ เพราะมันคือ เกณฑ์การให้คะแนน ถ้าเราอยากได้คะแนน ดีๆ เราก็ต้องมี องค์ประกอบและข้อมูลครบ ตามที่ระบุ ใน Marking Criteria
จะขอพูด เกี่ยวกับ Assignment ก่อนนะครับ

Marking Criteria สำหรับ Assignment นั้นแบ่ง เป็น ระดับ ดังนี้ครับ เริ่มจาก

ซ้ายPass ไปสูงสุดคือ High Distinction นะครับ
Pass-Credit-Distinction- High Distinction

โดยปกติหากเราทำตาม Criteria ของแต่ละ Band เราก็คาดว่าเราน่าจะ Grade ใน Band นั้นถูกมั๊ยครับ
But ไม่เสมอไปครับ !!!! นั่นเป็นเพราะผู้ตรวจ พบว่า “คุณภาพของข้อมูล “ นั้นไม่ ละเอียด พอครับ
พี่จึงแนะนำให้ สำหรับ คนที่อยากได้ Band ที่เล็ง ไว้ Sure Sure ว่า ให้ทำ Band สูงกว่านั้นครับ เช่น หากเราต้องการ Credit คะแนนระดับ 60-70 หรือ 65-75 ( ต้องไป Check เอาเองขึ้นอยู่แต่ละ University ครับ)
ให้เรามีเนื้อ หา และ Data ระดับ Distinction เลยครับ นั่นก็เพราะ ว่าข้อมูลเรามี เกิน กว่า Credit Band ซึ่งตรงนี้ ทางผู้ตรวจจะให้คะแนน เราครับ แต่หาก “คุณภาพของข้อมูล “ เราไม่ถึงเราก็ยังได้ Band Credit นั่นเอง
และหากอยากได้ Distinction ก็ต้องทำให้ได้ระดับ High Distinction !!!

นั่นเอง ซึ่ง พี่ๆ สมัยเรียนก็ทำกันแบบนี้ครับ เพราะ “คุณภาพของข้อมูล “ นั้นบางที ข้อจำกัดด้านเวลาในการทำ Assignment ของเราจำกัด จึงไม่สามารถลงระเอียดได้แบบครบทั้งหมด แถมมีข้อจำกัดด้านจำนวน Words มาซึ่ง เราต้องเขียนเกิน แล้วมาตัดออก
ให้กระชับอยู่ใน Word Limit จึงทำให้อธิบาย บางจุด ได้ไม่ดี พอ

ด้านล่างเป็นตัวอย่างของ Marking Criteria แบบ ให้คะแนน กันครับ ไม่ใช่แบบระบุ Grade Band
เผื่อน้องๆเพื่อนๆ เห็นกันจะได้ใส่ใจกันหน่อยครับ


Assessment Item 1 Essay Marking Criteria
Your essay will be assessed on the extent and quality to which it meets each of the following criteria.
CONTENT. Does your topic analysis demonstrate: Marks
critical analysis of the Operations Management
problems, root causes and systems issues and an
assessment of the linkages between these?
/30
a thorough knowledge and application of relevant
Operations Management principles, concepts,
methods and theories?
/20
appropriate and well structured, concise and clear
expression of Operations Management arguments in
response to the assessment task?
/10
a clear flow of thought throughout the paper with a
clear purpose described in the introduction and a
comprehensive conclusion?
/10
a critical review and integration of relevant academic
and profession literature (cited at least twelve (12)
academic journals)?
/15
PRESENTATION. Does your topic analysis demonstrate:
clarity of expression, grammar and spelling? /5
Harvard
Referencing Guide (author-date) (2011)?
/5
appropriate presentation format and presented within
(10%) of the word limit: 4000 words? /5
Late Penalty where applicable.
TOTAL MARKS /100


จะเห็นได้ว่าคะแนน เต็ม 100 นั้น Marking Criteria แบบ นี้จะแบ่งเป็น Part ๆเลย ว่าถ้าทำแต่ละ Part ครบ จะได้ คะแนนเท่าไหร่

จะต่างกับด้านล่างนี้ที่ทำ เป็น Grade Band ที่เล่าในบทความข้างบน ครับ ซึ่งน้องๆเพื่อนๆหากได้แบบด้านบน ให้ลองคุยกับ อาจารย์ ถึงแบบด้านล่างนี้ได้ครับ แต่พี่เชื่อว่าจะมีระบุใน Course Outline เป็นส่วนใหญ่นะครับ



วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

เรียนไม่เก่ง เปลี่ยนเป็นเรียนเก่งได้อย่างไร

เรียนไม่เก่ง เปลี่ยนเป็นเรียนเก่งได้อย่างไร

จากบทความ “เรียนอย่างไรให้ได้ A” ในครั้งที่แล้ว บางคนอาจมีข้อสงสัยว่า หากเป็นเด็กเรียนอ่อนมาตลอด จะสามารถทำเกรด A ได้หรือ เพราะสำหรับบางคน แค่ได้เกรดเฉลี่ยถึง 3.00 ก็นับว่าดีแล้ว ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงอยากเล่าประสบการณ์จริงของเพื่อนคนหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนผลการเรียนของตนจากหน้ามือเป็นหลังมือได้สำเร็จมาแล้ว

ผู้เขียนรู้จักกับเพื่อนคนนี้ตั้งแต่ยังเรียนมัธยมต้น เคยนั่งอยู่ใกล้กัน เพราะตอนนั้นคุณครูจัดให้คนเรียนอ่อน หรือเกเร นั่งกับเด็กเรียนดี ซึ่งผู้เขียนเองก็เรียนได้อันดับ 1 ใน 5 ของชั้นมาตลอด 3 ปีในมัธยมต้น หลังจากนั้น ต่างก็แยกย้ายกันเรียนต่อในระดับมัธยมปลายของโรงเรียนต่างๆ จนกระทั่งได้มีโอกาสพบและพูดคุยกันอีกทีทาง Facebook เมื่อเร็วๆนี้ โดยที่ไม่คาดคิดมาก่อน

· จุดเปลี่ยนของเด็กเกเร

เค้าได้เล่าให้ฟังว่าตอนมัธยมปลายเคยต้องเรียนซ้ำชั้น เพราะโดนพักการเรียนหนึ่งเทอม แล้วจบชั้นม. 6 ด้วยเกรดเฉลี่ย 1.3 พอจะเข้ามหาวิทยาลัย ที่บ้านจึงแนะนำให้เข้าเรียนในที่ที่ไม่มีเพื่อนเก่าไปเรียน จะได้ไม่มีคนมาชวนไปเสียอีก ซึ่งเค้าบอกว่าเค้าไม่เคยเชื่อแม่เลย นี่เป็นครั้งแรกที่เค้าเชื่อและเข้าเรียนในวิทยาลัยนานาชาติตามที่ครอบครัวแนะนำ ซึ่งก็ได้ผล เค้าเริ่มต้นใหม่ ตั้งใจเรียน แล้วผลการเรียนเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จนเทอมสุดท้ายของระดับปริญญาตรีได้เกรดเฉลี่ย 4.00 แล้วเรียนต่อปริญญาโทจนจบด้วยเกรดเฉลี่ย 3.7 และในขณะนี้เค้าก็กำลังเตรียมสมัครเรียนปริญญาโทในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศในอีกสาขาหนึ่ง

· ทราบได้อย่างไรว่าต้องเรียนยังไงให้เก่ง

ผู้เขียนเอง เมื่อได้ฟังก็รู้สึกสงสัยว่าคนเรียนไม่เก่ง แล้วทราบวิธีในการเรียนดีจนได้เกรดเฉลี่ยเป็น 3.7 หรือ 4.0 ได้อย่างไร ซึ่งเพื่อนคนนี้ได้ตอบว่า ใช้วิธีดูว่าคนอื่นเค้าทำอย่างไร แล้วก็ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ (แต่ในที่นี้ ขอแสดงความยินดีกับผู้อ่านด้วยที่ไม่ต้องลองผิดลองถูกเองแล้ว เพราะในบทความ“เรียนอย่างไรให้ได้ A” ได้กล่าวถึงองค์ประกอบในการเรียนดีไว้แล้ว ^^) เพื่อนคนนี้ยังบอกอีกว่า ถึงตอนนี้ เค้ารู้แล้วว่าเรื่องเรียนดีน่ะ “อู๊ดๆ”

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเพื่อนคนนี้ สาเหตุที่สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้สำเร็จ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้ออกห่างจากเพื่อนๆที่ชวนกันเสียมาก่อน ประกอบกับมีความตั้งใจจริง มานะพยายาม ตั้งใจ เอาใจใส่ในการเรียน จึงสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นในทุกวันนี้ นอกจากนี้แล้ว ตอนนี้เค้าทำงานเป็นทหาร ได้รับยศร้อยโท ทำหน้าที่วิเคราะห์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ และเป็นผู้ฝึกสอนทหารจากสหรัฐอเมริกาที่ถูกส่งมาศึกษาข้อมูลในไทยอีกด้วยค่ะ ^^ แต่จากที่คุยกัน ผู้เขียนสังเกตได้ว่าเค้ายังอ่อนภาษาอังกฤษอยู่ เหมือนจำเป็นประโยคมากกว่า (เพราะเค้าต้องสื่อสารกับทหารต่างชาติ) จึงได้แนะนำให้สมัครเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนทราบว่าที่นี่จะสามารถช่วยให้เค้าเรียบเรียงและแต่งประโยคด้วยตนเองอย่างถูกต้องได้ เพื่อนคนนี้ตอบว่า เค้าสนใจ เพราะอยากชดเชยกับที่ผ่านมา ที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเลย ผู้เขียนจึงอยากถือโอกาสนี้ เชิญชวนให้คนที่มีโอกาส ตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษกันตั้งแต่ตอนนี้ด้วยค่ะ ^^

สุดท้ายนี้ ขอให้กำลังใจกับผู้อ่านทุกคน ให้ลองตั้งใจ ตั้งมั่น ที่จะปรับเปลี่ยนตนเองดู ทุกอย่างล้วนต้องมีการลงทุน ลงแรง จึงจะได้ดอกผลที่งดงาม เมื่อมีความตั้งใจจริง ลงมือทำ และทราบแนวทางปฏิบัติที่ได้ผลจริงแล้ว เกรด A หรือ เกรด 4 คงไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอนค่ะ ^^ ส่วนการเรียนดีมีประโยชน์และสำคัญอย่างไรนั้น อาจมีบางข้อที่ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ไม่เคยทราบมาก่อน ก็สามารถหาอ่านได้จากหน้าแรกของบทความ “เรียนอย่างไรให้ได้ A” ค่ะ

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรียนอย่างไรให้ได้ A

เรียนอย่างไรให้ได้ A

เกือบทุกคนที่กำลังเรียนอยู่ต่างก็ปรารถนาที่จะสอบได้เกรด A กันทั้งนั้น แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยที่จะสามารถทำได้จริง เพราะถึงอย่างไร อาจารย์ก็ต้องแยกแยะความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นระดับต่างๆให้ได้ จึงไม่สามารถให้ A แก่นักเรียนทั้งห้องได้ ในบทความนี้ ทางทีมงาน Great Assignment จึงอยากแบ่งปันวิธีการเรียนให้ได้ A แก่ผู้อ่าน ซึ่งมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1. ตั้งใจเรียนในห้อง

2. จับใจความสำคัญ

3. วางแผนอ่านหนังสือสอบ

4. ทำการบ้านด้วยตนเองทุกครั้ง

5. ทำแบบฝึกหัดสำหรับวิชาคำนวณ

6. ถามอาจารย์หรือเพื่อนเมื่อไม่เข้าใจ

7. อ่านทำความเข้าใจ

ในการที่จะได้อะไรมา ล้วนแต่ต้องมีการลงทุน ลงแรง อยากมีแฟน ก็ต้องลงมือจีบ ผู้หญิงที่สวย เก่ง มีสเน่ห์ ก็จะมีคนจีบเยอะ อยากได้เป็นแฟนก็ต้องพยายามมากเป็นธรรมดา หาอยากเรียนดี ก็ต้องมีความเอาใจใส่ ตั้งใจเช่นเดียวกัน แต่หากเป็นคนไม่เก่ง หัวไม่ดี ก็ต้องพยายามมากหน่อย แต่ผลที่ได้รับนั้นแสนคุ้มค่าในระยะยาว เพราะเวลาไปสมัครงานที่ไหน ตลอดชีวิต ก็ต้องใช้ Transcript ซึ่งก็จะมีเกรดเฉลี่ยแสดงอยู่ จริงอยู่ เกรดที่สูงไม่ได้เป็นสิ่งรับประกัน ว่าคนๆนั้นจะสามารถทำงานได้ดี ไม่มีข้อผิดพลาด แต่ก็เป็นสิ่งหนึ่ง ที่แสดงถึงความเอาใจใส่ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ในขณะที่ยังเป็นนักเรียน นักศึกษา อีกทั้งยังบ่งบอกถึงความสม่ำเสมอในความตั้งใจนั้น นอกจากนี้ หากเรามีพื้นฐานความรู้ที่ดี ก็จะช่วยให้เวลาทำงาน มีความเข้าใจในหลักการ อย่างไรก็ตาม Performance จะดีได้ ก็ต้องอาศัยการปรับตัว ประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนมา พากเพียร รอบคอบ เต็มใจที่จะเรียนรู้ และมีทักษะการทำงาน หรือที่เรียกว่า “ทำงานเป็น” นั่นเอง


เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 1 ตั้งใจเรียนในห้อง

การตั้งใจเรียนในห้องและจดใจความสำคัญ อาจถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดเลยก็ว่าได้ และได้ผลดี เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดีในขั้นต้น ซึ่งผู้เขียนเอง ก็ใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก และมีผลการเรียนที่ดีมาโดยตลอด เมื่อเราเข้าใจบทเรียนแล้ว เวลาทบทวนบทเรียน อ่านหนังสือสอบ หรือทำการบ้าน ก็ล้วนแต่ทำได้ง่ายขึ้นทั้งนั้น นอกจากนี้ ในเมื่อเราอยู่ในห้องเรียนแล้ว หากจะสนใจทำอย่างอื่น ก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ ในเมื่อเราได้ใช้เวลานั่งอยู่ในห้องเรียนแล้ว ก็ควรใช้เวลาในช่วงนั้นให้มีค่า เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยการสนใจ ตั้งใจกับสิ่งที่ดำเนินอยู่ นั่นคือ การเรียนนั่นเอง

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 2 จับใจความสำคัญ

เนื้อหาที่เรียนหรืออ่าน แต่ละช่วง แต่ละประโยคต่างก็มีความสำคัญไม่เท่ากัน จนมีผู้กล่าวไว้เป็นกฎ 80:20 ว่า 20% ของเนื้อหา เป็น 80% ที่ออกสอบ นั่นคือ ในเนื้อหาที่เรียนหรืออ่าน มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สำคัญ และถูกนำไปใช้ออกข้อสอบเป็นจำนวนมาก หากสามารถจับใจความสำคัญได้แล้ว ก็จะทราบว่าเนื้อหาส่วนไหนที่สำคัญ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งก็จะช่วยให้เน้นอ่านได้ตรงจุดนั่นเองทั้งนี้ การที่จะจับใจความสำคัญได้ ก็ต้องมีสมาธิ ตั้งใจในการเรียน และการอ่านหนังสือนั่นเอง

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 3 วางแผนอ่านหนังสือสอบ

การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย มีเนื้อหามากมายกว่าระดับประถม มัธยมมากมายนัก หากเราไม่มีการวางแผนเตรียมตัวที่ดี ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์อ่านหนังสือไม่ทันได้ ผลก็คือ อ่านหนังสือไม่จบ แต่ก็ถึงเวลาสอบแล้ว ซึ่งบางคน แม้จะมีระดับสติปัญญาที่ดี แต่ไม่ได้วางแผนการอ่านหนังสือไว้ แล้วอ่านไม่ทัน ก็ทำให้คะแนนสอบออกมาไม่มาก (เมื่อเทียบกับความสามารถ) ก็มี


เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 4 ทำการบ้านด้วยตนเองทุกครั้ง

ข้อนี้ สำหรับผู้เขียนแล้ว ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะสาเหตุที่อาจารย์ให้การบ้านกับเรา ก็เพราะเป็นสิ่งที่ต้องทบทวน หรือฝึกหัด ซึ่งหากเราไม่ได้ฝึกหัด ลอกการบ้านเพื่อนส่งแล้ว จะมีผลต่อเวลาทำข้อสอบ คิดไม่ออก ไม่ทราบว่าต้องทำวิธีไหน ตอบยังไง จึงทำข้อสอบไม่ได้ หรือหากทำได้ ก็ใช้เวลามากกว่าที่ควร ซึ่งก็จะทำให้ทำข้อสอบได้ไม่ทัน เสียคะแนนไปนั่นเอง

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 5 ทำแบบฝึกหัดสำหรับวิชาคำนวณ

ทั้งนี้ เนื่องจากในวิชาคำนวณ ต้องอาศัยทักษะความชำนาญ ในการตีโจทย์ และคิดคำนวณคำตอบที่ถูกต้อง การฝึกฝนที่เพียงพอจึงสามารถช่วยให้ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น ทราบว่าโทย์แบบนี้ต้องแก้อย่างไร และคิดคำนวณออกมาได้อย่างแม่นยำ ในการเรียนระดับอุดมศึกษา หรือแม้กระทั่งระดับเตรียมอุดมศึกษาบางแห่ง อาจารย์จะไม่ค่อยให้การบ้านนักเรียนมากนัก เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นักเรียนจึงต้องซื้อหนังสือข้อสอบมาหัดทำเอง ซึ่งก็มีผลโดยตรงต่อคะแนนสอบที่ทำได้ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว หากไม่มีข้อสอบเก่าให้ได้ฝึกทำ ก็ควรฝึกทำตัวอย่างต่างๆที่อาจารย์สอน และการบ้านที่อาจารย์เคยให้ไว้นั่นเอง นอกจากนี้ การทำการบ้าน หรือการทำแบบฝึกหัด ยังมีส่วนช่วยให้เราทราบว่ามีตรงไหนที่เราไม่เข้าใจ จะได้ทำความเข้าใจ หรือถามเพื่อนจนทราบวิธีทำ และคำตอบที่ถูกต้องด้วย


เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 6 ถามอาจารย์หรือเพื่อนเมื่อไม่เข้าใจ

บางอย่างที่เราสงสัยหรือไม่เข้าใจ เพื่อนทราบและสามารถตอบเราได้ แต่หากเพื่อนไม่ทราบ ก็ควรที่จะลองถามอาจารย์ เพื่อให้มีความเข้าใจในสิ่งที่สงสัยมากขึ้น นอกจากนี้ การสอบถามยังเป็งเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจอย่างหนึ่งด้วย

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 7 อ่านทำความเข้าใจ

การอ่านทำความเข้าใจถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เนื้อหามีความยากและซับซ้อนขึ้น จึงควรทำความเข้าใจกับสิ่งที่อ่าน จะช่วยให้เราเข้าใจในเนื้อหาที่ยากๆได้ คนเรียนเก่งจะรู้จักทำความเข้าใจบทเรียนจน get ต่างกับคนทั่วๆไป ที่เวลาเรียนเรื่องยากๆก็จะไม่เข้าใจและทำข้อสอบไม่ได้ เพราะไม่สามารถอ่านทำความเข้าใจได้นั่นเอง ซึ่งการที่จะทำความเข้าใจได้ ก็ต้องมีความตั้งใจอ่านนั่นเอง (และอาจต้องใช้ความพากเพียรด้วย) ส่วนการอ่านทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว เช่น วันนี้เรียนเรื่อง Tense พอคืนนั้น หรือวันเสาร์-อาทิตย์ก็อ่านทบทวนเรื่อง Tense เลย ก็เป็นสิ่งที่ดี จะช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น และง่ายต่อการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ใช้เวลาอ่านหนังสือสอบน้อยลง

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

จากที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 2 ว่าขั้นตอนการทำ Referencing มี 2 ขั้นตอน คือ 1. การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน และ 2. การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม ซึ่งขั้นตอนที่ 1 ได้อธิบายไว้ในตอนที่ 2-5 แล้ว ในตอนที่ 6 นี้ จะอธิบายถึงขั้นตอนที่ 2 ต่อไป

2.การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม

Reference List หมายถึง รายชื่อของแหล่งที่มาทั้งหมดที่ได้อ้างถึง (Citing) ไว้ในส่วนของเนื้อหาที่ได้เขียนไป นำมารวมไว้ใน Reference List นี้เพียง List เดียว ไม่ว่าจะมาจากหนังสือ บทความ และอื่นๆ ไม่ต้องแยกเป็นหลายลิสท์ตามประเภทของแหล่งที่มา

· ลิสท์นี้ ควรเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่ง

· รูปแบบการเขียนถึงแหล่งที่มาแต่ละรายการใน Reference List ให้ใช้ตามรูปแบบเฉพาะของประเภทแหล่งที่มานั้นๆ เช่น หนังสือ บทความจาก Paper Journals หรือ E-lournals ฯลฯ

Reference list นี้ ต้องรวมรายการทั้งหมดที่เราได้อ้างอิง (Citing) และรายการที่เราคัดลอกประโยคของเค้ามา (Direct Quoting)

ตัวอย่างของหน้า Reference List ในตอนท้ายของงานเขียน ได้แก่

Laudon, K. & Laudon K. (2007) Securing Information Systems, In: Management Information Systems: Managing the Digital Firm (10th edition). New Jersey, Pearson, pp.312-351.

Vijayaraghavan, V., Paul, S., Rajarathnam, N. (2010) iMeasure Security (iMS): A Framework for Quantitative Assessment of Security Measures and its Impacts. Information Security Journal, 19 (4), 213.

HelpNetSecurity. (2003) Implementing Basic Security Measures. [Online] Available from:http://www.net-security.org/article.php?id=458&p=1 [Accessed 18th November 2010]


Bibliography เราอาจมีการใช้ที่ปรึกษาในการเขียนงาน แต่ว่าไม่ได้เขียนอ้างอิง (Citing) ไว้ ก็สามารถนำมาใส่ในส่วนของ Bibliography ตอนท้ายของงานเขียนได้ ทั้งนี้ รายการเหล่านี้ต้องเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่งเช่นเดียวกับ Reference List แต่ถ้าสามารถเขียนอ้างอิงทุกแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้ามาได้ ก็ใช้แค่ Reference List ไม่ต้องมี Bibliography ส่วนกรณีที่ต้องการแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงสิ่งที่ได้ทำการค้นคว้ามา แต่ไม่ได้ใช้ในงานเขียนนั้นๆ ก็สามารถแสดงใน Bibliograpgy เพื่อบอกความพยายามได้

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่ 4 Citing and Quoting from Multi-media and Online Resources

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 4 Citing and Quoting from Multi-media and Online Resources

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

เนื่องจากข้อมูลจาก Multi-media and Online Resources มักไม่ค่อยมีชื่อผู้แต่งปรากฏ จึงมีการกำหนดวิธีการ Citing ไว้ดังนี้

Electronic journal (e-journals) articles:

การอ้างอิงจาก E-journal article สามารถทำได้โดยวิธีเดียวกับการทำ Citing ปกติ คือ ใส่นามสกุลผู้แต่ง และปีที่ตีพิมพ์

World Wide Web (WWW):

· ถ้าในเว็บไซต์มีการระบุผู้แต่ง และวันที่ตีพิมพ์ไว้แล้ว ก็ทำการ Citing ตามปกติดังที่ ที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 2 และ 3

· ถ้าเว็บไซต์ไม่ได้ระบุผู้แต่งไว้ บอกแต่เพียงองค์กรที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ ให้ใช้ชื่อองค์กรนั้นเป็น ‘Corporate Author’

ตัวอย่าง - Corporate Author:

The Department of Health (2001)

ถ้าไม่มีการระบุผู้แต่งหรือ Corporate Author ให้ใช้ชื่อเอกสารเป็นจุดหลักในการอ้างอิง


CD-ROMs:

ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อของ CD-ROM เป็นจุดหลักในการอ้างอิง

ตัวอย่าง

Encyclopaedia Britannica (2001)

Multi-media:

หากมีการอ้างอิงถึงวีดิโอ ดีวีดี หรือเทปคาสเซ็ท ให้ใช้ชื่อซีรี่ส์เป็นชื่อผู้แต่ง

ตัวอย่าง

World in Action (2002)

ตอนที่ 3 Quoting in the Text

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 3 Quoting in the Text

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

ในการทำ Citing ในเนื้อหาที่เขียน นอกจากเราจะเขียนอ้างถึงที่มาว่า ผู้เขียนนามสกุล......ปี.......กล่าวว่าอย่างไร (โดยเขียนใหม่ด้วยภาษาของเรา หรือ paraphrase) โดยมีวิธี citing ดังที่กล่าวมาในตอนที่ 2 แล้ว เรายังสามารถยกเอาประโยคที่เค้าเขียนมาได้ทั้งประโยคด้วยซึ่งเรียกว่า Quoting สามารถทำได้โดย นอกจากชื่อผู้แต่งแล้ว ให้

· ระบุหน้า ข้างหลังปีที่ตีพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรายกประโยคนั้นมาจากหน้าไหน

· ใช้เครื่องหมาย Single Quotation Mark หรือ คลุมประโยคที่เรายกมา

ตัวอย่าง – Short Quotation ข้อความที่ยกมายาวไม่เกิน 2 บรรทัด

Simpson (2002: p.6) declared that the explosive behaviour was unexpected.

ตัวอย่าง – Long Quotation ข้อความที่ยกมายาวเกิน 2 บรรทัด

Boden (1998: p.72) states:

In 1664, The most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men. This would suggest that women were not the passive and obedient members of society that men would have liked to believe they were.


หรือ จะระบุ นามสกุลผู้แต่ง ปีที่ตีพิมพ์ และหน้า ในบรรทัดถัดจากข้อความที่ยกมาก็ได้ ดังนี้

In 1664 the most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men. This would suggest that women were not the passive and obedient members of society that men would have liked to believe they were.

(Boden 1998: p.72)

นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถละข้อความบางคำจากส่วนที่ยกมาได้ โดยใช้จุด 3 จุด แทนข้อความที่ละไว้ ไม่เขียนลงไปด้วย

ตัวอย่าง – การละบางคำในข้อความที่ยกมา

Boden (1998: p.72) states:

In 1664 the most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men women beating or dominating a man was a particularly sensitive issue as it threatened the perpetuation of the patriarchal society …’

การคัดลอก ชาร์ท แผนภาพ รูปภาพ เป็นต้น ก็ควรจะทำการ Direct Quote เช่นกัน เพื่อยอมรับ ขอบคุณ และระบุถึงผู้ทำชาร์ท แผนภาพ รูปภาพ เหล่านั้น รวมทั้งหน้าที่นำข้อมูลดังกล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่เราเขียนเนื้อหา หรือคำบรรยายใต้ภาพก็ตาม