วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรียนอย่างไรให้ได้ A

เรียนอย่างไรให้ได้ A

เกือบทุกคนที่กำลังเรียนอยู่ต่างก็ปรารถนาที่จะสอบได้เกรด A กันทั้งนั้น แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยที่จะสามารถทำได้จริง เพราะถึงอย่างไร อาจารย์ก็ต้องแยกแยะความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นระดับต่างๆให้ได้ จึงไม่สามารถให้ A แก่นักเรียนทั้งห้องได้ ในบทความนี้ ทางทีมงาน Great Assignment จึงอยากแบ่งปันวิธีการเรียนให้ได้ A แก่ผู้อ่าน ซึ่งมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1. ตั้งใจเรียนในห้อง

2. จับใจความสำคัญ

3. วางแผนอ่านหนังสือสอบ

4. ทำการบ้านด้วยตนเองทุกครั้ง

5. ทำแบบฝึกหัดสำหรับวิชาคำนวณ

6. ถามอาจารย์หรือเพื่อนเมื่อไม่เข้าใจ

7. อ่านทำความเข้าใจ

ในการที่จะได้อะไรมา ล้วนแต่ต้องมีการลงทุน ลงแรง อยากมีแฟน ก็ต้องลงมือจีบ ผู้หญิงที่สวย เก่ง มีสเน่ห์ ก็จะมีคนจีบเยอะ อยากได้เป็นแฟนก็ต้องพยายามมากเป็นธรรมดา หาอยากเรียนดี ก็ต้องมีความเอาใจใส่ ตั้งใจเช่นเดียวกัน แต่หากเป็นคนไม่เก่ง หัวไม่ดี ก็ต้องพยายามมากหน่อย แต่ผลที่ได้รับนั้นแสนคุ้มค่าในระยะยาว เพราะเวลาไปสมัครงานที่ไหน ตลอดชีวิต ก็ต้องใช้ Transcript ซึ่งก็จะมีเกรดเฉลี่ยแสดงอยู่ จริงอยู่ เกรดที่สูงไม่ได้เป็นสิ่งรับประกัน ว่าคนๆนั้นจะสามารถทำงานได้ดี ไม่มีข้อผิดพลาด แต่ก็เป็นสิ่งหนึ่ง ที่แสดงถึงความเอาใจใส่ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ในขณะที่ยังเป็นนักเรียน นักศึกษา อีกทั้งยังบ่งบอกถึงความสม่ำเสมอในความตั้งใจนั้น นอกจากนี้ หากเรามีพื้นฐานความรู้ที่ดี ก็จะช่วยให้เวลาทำงาน มีความเข้าใจในหลักการ อย่างไรก็ตาม Performance จะดีได้ ก็ต้องอาศัยการปรับตัว ประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนมา พากเพียร รอบคอบ เต็มใจที่จะเรียนรู้ และมีทักษะการทำงาน หรือที่เรียกว่า “ทำงานเป็น” นั่นเอง


เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 1 ตั้งใจเรียนในห้อง

การตั้งใจเรียนในห้องและจดใจความสำคัญ อาจถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดเลยก็ว่าได้ และได้ผลดี เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดีในขั้นต้น ซึ่งผู้เขียนเอง ก็ใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก และมีผลการเรียนที่ดีมาโดยตลอด เมื่อเราเข้าใจบทเรียนแล้ว เวลาทบทวนบทเรียน อ่านหนังสือสอบ หรือทำการบ้าน ก็ล้วนแต่ทำได้ง่ายขึ้นทั้งนั้น นอกจากนี้ ในเมื่อเราอยู่ในห้องเรียนแล้ว หากจะสนใจทำอย่างอื่น ก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ ในเมื่อเราได้ใช้เวลานั่งอยู่ในห้องเรียนแล้ว ก็ควรใช้เวลาในช่วงนั้นให้มีค่า เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยการสนใจ ตั้งใจกับสิ่งที่ดำเนินอยู่ นั่นคือ การเรียนนั่นเอง

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 2 จับใจความสำคัญ

เนื้อหาที่เรียนหรืออ่าน แต่ละช่วง แต่ละประโยคต่างก็มีความสำคัญไม่เท่ากัน จนมีผู้กล่าวไว้เป็นกฎ 80:20 ว่า 20% ของเนื้อหา เป็น 80% ที่ออกสอบ นั่นคือ ในเนื้อหาที่เรียนหรืออ่าน มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สำคัญ และถูกนำไปใช้ออกข้อสอบเป็นจำนวนมาก หากสามารถจับใจความสำคัญได้แล้ว ก็จะทราบว่าเนื้อหาส่วนไหนที่สำคัญ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งก็จะช่วยให้เน้นอ่านได้ตรงจุดนั่นเองทั้งนี้ การที่จะจับใจความสำคัญได้ ก็ต้องมีสมาธิ ตั้งใจในการเรียน และการอ่านหนังสือนั่นเอง

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 3 วางแผนอ่านหนังสือสอบ

การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย มีเนื้อหามากมายกว่าระดับประถม มัธยมมากมายนัก หากเราไม่มีการวางแผนเตรียมตัวที่ดี ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์อ่านหนังสือไม่ทันได้ ผลก็คือ อ่านหนังสือไม่จบ แต่ก็ถึงเวลาสอบแล้ว ซึ่งบางคน แม้จะมีระดับสติปัญญาที่ดี แต่ไม่ได้วางแผนการอ่านหนังสือไว้ แล้วอ่านไม่ทัน ก็ทำให้คะแนนสอบออกมาไม่มาก (เมื่อเทียบกับความสามารถ) ก็มี


เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 4 ทำการบ้านด้วยตนเองทุกครั้ง

ข้อนี้ สำหรับผู้เขียนแล้ว ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะสาเหตุที่อาจารย์ให้การบ้านกับเรา ก็เพราะเป็นสิ่งที่ต้องทบทวน หรือฝึกหัด ซึ่งหากเราไม่ได้ฝึกหัด ลอกการบ้านเพื่อนส่งแล้ว จะมีผลต่อเวลาทำข้อสอบ คิดไม่ออก ไม่ทราบว่าต้องทำวิธีไหน ตอบยังไง จึงทำข้อสอบไม่ได้ หรือหากทำได้ ก็ใช้เวลามากกว่าที่ควร ซึ่งก็จะทำให้ทำข้อสอบได้ไม่ทัน เสียคะแนนไปนั่นเอง

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 5 ทำแบบฝึกหัดสำหรับวิชาคำนวณ

ทั้งนี้ เนื่องจากในวิชาคำนวณ ต้องอาศัยทักษะความชำนาญ ในการตีโจทย์ และคิดคำนวณคำตอบที่ถูกต้อง การฝึกฝนที่เพียงพอจึงสามารถช่วยให้ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น ทราบว่าโทย์แบบนี้ต้องแก้อย่างไร และคิดคำนวณออกมาได้อย่างแม่นยำ ในการเรียนระดับอุดมศึกษา หรือแม้กระทั่งระดับเตรียมอุดมศึกษาบางแห่ง อาจารย์จะไม่ค่อยให้การบ้านนักเรียนมากนัก เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นักเรียนจึงต้องซื้อหนังสือข้อสอบมาหัดทำเอง ซึ่งก็มีผลโดยตรงต่อคะแนนสอบที่ทำได้ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว หากไม่มีข้อสอบเก่าให้ได้ฝึกทำ ก็ควรฝึกทำตัวอย่างต่างๆที่อาจารย์สอน และการบ้านที่อาจารย์เคยให้ไว้นั่นเอง นอกจากนี้ การทำการบ้าน หรือการทำแบบฝึกหัด ยังมีส่วนช่วยให้เราทราบว่ามีตรงไหนที่เราไม่เข้าใจ จะได้ทำความเข้าใจ หรือถามเพื่อนจนทราบวิธีทำ และคำตอบที่ถูกต้องด้วย


เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 6 ถามอาจารย์หรือเพื่อนเมื่อไม่เข้าใจ

บางอย่างที่เราสงสัยหรือไม่เข้าใจ เพื่อนทราบและสามารถตอบเราได้ แต่หากเพื่อนไม่ทราบ ก็ควรที่จะลองถามอาจารย์ เพื่อให้มีความเข้าใจในสิ่งที่สงสัยมากขึ้น นอกจากนี้ การสอบถามยังเป็งเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจอย่างหนึ่งด้วย

เรียนอย่างไรให้ได้ A

ส่วนประกอบที่ 7 อ่านทำความเข้าใจ

การอ่านทำความเข้าใจถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เนื้อหามีความยากและซับซ้อนขึ้น จึงควรทำความเข้าใจกับสิ่งที่อ่าน จะช่วยให้เราเข้าใจในเนื้อหาที่ยากๆได้ คนเรียนเก่งจะรู้จักทำความเข้าใจบทเรียนจน get ต่างกับคนทั่วๆไป ที่เวลาเรียนเรื่องยากๆก็จะไม่เข้าใจและทำข้อสอบไม่ได้ เพราะไม่สามารถอ่านทำความเข้าใจได้นั่นเอง ซึ่งการที่จะทำความเข้าใจได้ ก็ต้องมีความตั้งใจอ่านนั่นเอง (และอาจต้องใช้ความพากเพียรด้วย) ส่วนการอ่านทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว เช่น วันนี้เรียนเรื่อง Tense พอคืนนั้น หรือวันเสาร์-อาทิตย์ก็อ่านทบทวนเรื่อง Tense เลย ก็เป็นสิ่งที่ดี จะช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น และง่ายต่อการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ใช้เวลาอ่านหนังสือสอบน้อยลง

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 5 Reference List และ Bibliography

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

จากที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 2 ว่าขั้นตอนการทำ Referencing มี 2 ขั้นตอน คือ 1. การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน และ 2. การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม ซึ่งขั้นตอนที่ 1 ได้อธิบายไว้ในตอนที่ 2-5 แล้ว ในตอนที่ 6 นี้ จะอธิบายถึงขั้นตอนที่ 2 ต่อไป

2.การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม

Reference List หมายถึง รายชื่อของแหล่งที่มาทั้งหมดที่ได้อ้างถึง (Citing) ไว้ในส่วนของเนื้อหาที่ได้เขียนไป นำมารวมไว้ใน Reference List นี้เพียง List เดียว ไม่ว่าจะมาจากหนังสือ บทความ และอื่นๆ ไม่ต้องแยกเป็นหลายลิสท์ตามประเภทของแหล่งที่มา

· ลิสท์นี้ ควรเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่ง

· รูปแบบการเขียนถึงแหล่งที่มาแต่ละรายการใน Reference List ให้ใช้ตามรูปแบบเฉพาะของประเภทแหล่งที่มานั้นๆ เช่น หนังสือ บทความจาก Paper Journals หรือ E-lournals ฯลฯ

Reference list นี้ ต้องรวมรายการทั้งหมดที่เราได้อ้างอิง (Citing) และรายการที่เราคัดลอกประโยคของเค้ามา (Direct Quoting)

ตัวอย่างของหน้า Reference List ในตอนท้ายของงานเขียน ได้แก่

Laudon, K. & Laudon K. (2007) Securing Information Systems, In: Management Information Systems: Managing the Digital Firm (10th edition). New Jersey, Pearson, pp.312-351.

Vijayaraghavan, V., Paul, S., Rajarathnam, N. (2010) iMeasure Security (iMS): A Framework for Quantitative Assessment of Security Measures and its Impacts. Information Security Journal, 19 (4), 213.

HelpNetSecurity. (2003) Implementing Basic Security Measures. [Online] Available from:http://www.net-security.org/article.php?id=458&p=1 [Accessed 18th November 2010]


Bibliography เราอาจมีการใช้ที่ปรึกษาในการเขียนงาน แต่ว่าไม่ได้เขียนอ้างอิง (Citing) ไว้ ก็สามารถนำมาใส่ในส่วนของ Bibliography ตอนท้ายของงานเขียนได้ ทั้งนี้ รายการเหล่านี้ต้องเรียงลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่งเช่นเดียวกับ Reference List แต่ถ้าสามารถเขียนอ้างอิงทุกแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้ามาได้ ก็ใช้แค่ Reference List ไม่ต้องมี Bibliography ส่วนกรณีที่ต้องการแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงสิ่งที่ได้ทำการค้นคว้ามา แต่ไม่ได้ใช้ในงานเขียนนั้นๆ ก็สามารถแสดงใน Bibliograpgy เพื่อบอกความพยายามได้

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่ 4 Citing and Quoting from Multi-media and Online Resources

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 4 Citing and Quoting from Multi-media and Online Resources

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

เนื่องจากข้อมูลจาก Multi-media and Online Resources มักไม่ค่อยมีชื่อผู้แต่งปรากฏ จึงมีการกำหนดวิธีการ Citing ไว้ดังนี้

Electronic journal (e-journals) articles:

การอ้างอิงจาก E-journal article สามารถทำได้โดยวิธีเดียวกับการทำ Citing ปกติ คือ ใส่นามสกุลผู้แต่ง และปีที่ตีพิมพ์

World Wide Web (WWW):

· ถ้าในเว็บไซต์มีการระบุผู้แต่ง และวันที่ตีพิมพ์ไว้แล้ว ก็ทำการ Citing ตามปกติดังที่ ที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 2 และ 3

· ถ้าเว็บไซต์ไม่ได้ระบุผู้แต่งไว้ บอกแต่เพียงองค์กรที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ ให้ใช้ชื่อองค์กรนั้นเป็น ‘Corporate Author’

ตัวอย่าง - Corporate Author:

The Department of Health (2001)

ถ้าไม่มีการระบุผู้แต่งหรือ Corporate Author ให้ใช้ชื่อเอกสารเป็นจุดหลักในการอ้างอิง


CD-ROMs:

ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อของ CD-ROM เป็นจุดหลักในการอ้างอิง

ตัวอย่าง

Encyclopaedia Britannica (2001)

Multi-media:

หากมีการอ้างอิงถึงวีดิโอ ดีวีดี หรือเทปคาสเซ็ท ให้ใช้ชื่อซีรี่ส์เป็นชื่อผู้แต่ง

ตัวอย่าง

World in Action (2002)

ตอนที่ 3 Quoting in the Text

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 3 Quoting in the Text

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

ในการทำ Citing ในเนื้อหาที่เขียน นอกจากเราจะเขียนอ้างถึงที่มาว่า ผู้เขียนนามสกุล......ปี.......กล่าวว่าอย่างไร (โดยเขียนใหม่ด้วยภาษาของเรา หรือ paraphrase) โดยมีวิธี citing ดังที่กล่าวมาในตอนที่ 2 แล้ว เรายังสามารถยกเอาประโยคที่เค้าเขียนมาได้ทั้งประโยคด้วยซึ่งเรียกว่า Quoting สามารถทำได้โดย นอกจากชื่อผู้แต่งแล้ว ให้

· ระบุหน้า ข้างหลังปีที่ตีพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรายกประโยคนั้นมาจากหน้าไหน

· ใช้เครื่องหมาย Single Quotation Mark หรือ คลุมประโยคที่เรายกมา

ตัวอย่าง – Short Quotation ข้อความที่ยกมายาวไม่เกิน 2 บรรทัด

Simpson (2002: p.6) declared that the explosive behaviour was unexpected.

ตัวอย่าง – Long Quotation ข้อความที่ยกมายาวเกิน 2 บรรทัด

Boden (1998: p.72) states:

In 1664, The most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men. This would suggest that women were not the passive and obedient members of society that men would have liked to believe they were.


หรือ จะระบุ นามสกุลผู้แต่ง ปีที่ตีพิมพ์ และหน้า ในบรรทัดถัดจากข้อความที่ยกมาก็ได้ ดังนี้

In 1664 the most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men. This would suggest that women were not the passive and obedient members of society that men would have liked to believe they were.

(Boden 1998: p.72)

นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถละข้อความบางคำจากส่วนที่ยกมาได้ โดยใช้จุด 3 จุด แทนข้อความที่ละไว้ ไม่เขียนลงไปด้วย

ตัวอย่าง – การละบางคำในข้อความที่ยกมา

Boden (1998: p.72) states:

In 1664 the most common female crime prosecuted at the Quarter Sessions was that of battering men women beating or dominating a man was a particularly sensitive issue as it threatened the perpetuation of the patriarchal society …’

การคัดลอก ชาร์ท แผนภาพ รูปภาพ เป็นต้น ก็ควรจะทำการ Direct Quote เช่นกัน เพื่อยอมรับ ขอบคุณ และระบุถึงผู้ทำชาร์ท แผนภาพ รูปภาพ เหล่านั้น รวมทั้งหน้าที่นำข้อมูลดังกล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่เราเขียนเนื้อหา หรือคำบรรยายใต้ภาพก็ตาม

ตอนที่ 2 การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 2 การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style ของ

Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

ขั้นตอนการทำ Referencing

มี 2 ขั้นตอน คือ 1. การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียน และ 2. การทำ Referencing ในส่วนของบรรณานุกรม ซึ่งในตอนที่ 2-5 จะกล่าวถึง การทำ Citing ในส่วนของเนื้อหาที่เราเขียนก่อน ส่วนขั้นตอนที่ 2 จะอธิบายในตอนที่ 6 ภายหลัง

1. การทำ Citing ในเนื้อหาที่เขียน เมื่อเรานำความคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานเขียนของเรา โดยอาจนำมาจากหนังสือ บทความ ฯลฯ เราจะต้องทำการยอมรับและขอบคุณ โดยแจ้งถึงที่มานั้น โดยเขียนอ้างถึง นามสกุลผู้เขียน และปีที่ทำการพิมพ์ ในกรณีที่งานนั้นมีผู้แต่ง 2 คน ก็ต้องเขียนถึงทั้งสองคนลงไป ส่วนรายละเอียดอื่นๆของงานนั้น เช่น ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์ และอื่นๆ ค่อยแจ้งในขั้นตอนที่ 2 คือ การทำ referencing ในส่วนของบรรณานุกรมทีหลัง

ตัวอย่าง – การอ้างอิงผู้เขียน 1 คนในเนื้อหาที่เราเขียน

The work of Smith (2001) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene.

ตัวอย่าง – การอ้างอิงผู้เขียน 2 คนในเนื้อหาที่เราเขียน

The work of Theakston & Boddington (2001) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene.

แต่ถ้ามีผู้เขียนถึง 3 คน หรือมากกว่าให้ใช้ตัวย่อ ‘et al.หลังนามสกุลผู้แต่งคนแรก

ตัวอย่าง

The work of Smith et al. (2001) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene. Theakston & Boddington (2001) however, considered that ….

ถ้ามีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอีกชิ้นหนึ่งแต่ผู้เขียนเป็นคนเดิม และเขียนขึ้นในปีเดียวกับที่ได้อ้างอิงถึงไปแล้ว ให้ใส่อักษรตัวเล็กตามหลังปีที่พิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่ามาจากงานเขียนคนละชิ้นกัน

ตัวอย่าง – ผู้เขียนคนเดิม ในปีเดียวกัน แต่เป็นงานคนละชิ้น

The work of Smith (2001a) emphasises that the research done by Holstein was in direct conflict with that produced by Greene.

การ Citing จากบทที่เขียนโดยผู้เขียนคนละคน

หนังสือบางเล่มก็มีหลายบทซึ่งเขียนโดยผู้เขียนคนละคนกัน การอ้างอิงถึงงานเขียนแบบนี้ ให้ใส่ชื่อผู้เขียนของบทที่เรานำมาใช้ ไม่ควรใส่ชื่อผู้รวบรวมหนังสือเล่มนั้น

การ Citing โดยผู้เขียนนำเนื้อความมาจากผู้เขียนอีกคนหนึ่งอีกที ให้เขียนดังนี้

ตัวอย่าง

Ellis (1990) cited by Cox (1991) discusses ….

ในตัวอย่างนี้ หมายถึง เราอ้างถึงบทความของ Cox โดย Cox นำความคิดของ Ellis มาใช้อีกที

ตอนที่ 1 Citing and Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard

ตอนที่ 1 Citing and Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

(แปล ยกตัวอย่าง และสรุปจาก Citing & Referencing Guide : Harvard Style

ของ Imperial College London โดยทีมงาน Great Assignment)

เวลาทำรายงานแล้วต้องทำ Citing and Referencing แบบ Harvard อาจเป็นเรื่องยุ่งยาก ลำบาก สำหรับหลายๆคนที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่หากเคยทำมาหลายๆชิ้นแล้ว ก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่าย และคุ้นเคย ในฐานะที่ทีมงานเอง เคยทำรายงานที่ต้องเขียน Citing and Referencing แบบนี้มาหลายครั้งแล้ว จึงได้แปลและสรุป การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard ตาม Guideline ของ Imperial College London เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับเพื่อนๆ และน้องๆหลายคนที่กำลังเรียนอยู่

Citing and Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

Referencing เป็นการยอมรับ และขอบคุณถึง idea ผู้อื่น ที่นำมาใช้ในงานเขียนของเรา ซึ่งอาจได้มาจากการอ่านหนังสือ website บทความ หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่อ่านงานของเราสามารถหาที่มาของงานเขียนนี้ได้ ส่วนเราก็จะได้เครดิตในความพยายามค้นหาข้อมูล และคุณภาพของเนื้อหาซึ่งไม่ได้เขียนขึ้นมาลอยๆจากการเดาหรือคิดเอาเองโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิง แต่มีที่มาที่ไป มีงานเขียนรับรอง ที่สำคัญคือ Referencing ยังช่วยให้เราไม่ถูกกล่าวหาว่าคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นมาเป็นงานของตนเอง หรือ ที่เรียกกันว่า Plagiarism นั่นเอง เพราะเราได้เขียนระบุลงไปในงานแล้ว ว่าข้อความส่วนนี้นำมาจากไหน เป็นแนวคิดของใคร

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard


เวลาทำรายงาน แล้วต้องเขียน Citing and Referencing แบบ Harvard อาจเป็นเรื่องยุ่งยาก ลำบาก สำหรับหลายๆคนที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่หากเคยทำมาหลายๆชิ้นแล้ว ก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่าย และคุ้นเคย ในฐานะที่ทีมงานเอง เคยทำรายงานที่ต้องเขียน Citing and Referencing แบบนี้มาหลายครั้งแล้ว จึงได้แปลและสรุป การทำ Citing and Referencing สไตล์ Harvard ฉบับของของ Imperial College London เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับเพื่อนๆ น้องๆหลายคนที่กำลังเรียนอยู่

Referencing คืออะไร ทำไมต้องทำด้วย

Referencing เป็นการยอมรับ และขอบคุณถึง idea ผู้อื่น ที่นำมาใช้ในงานเขียนของเรา ซึ่งอาจได้มาจากการอ่านหนังสือ website หนังสือ บทความ หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่อ่านงานของเราสามารถหาที่มาของงานเขียนนี้ได้ ซึ่งเราก็จะได้เครดิตในความพยายามค้นหาข้อมูล และคุณภาพของเนื้อหา ซึ่งไม่ได้เขียนงานขึ้นมาลอยๆ จากการเดาหรือคิดเอาเองโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิง แต่มีที่มาที่ไป มีงานเขียนรับรอง ที่สำคัญคือ Referencing ยังช่วยให้เราไม่ถูกกล่าวหาว่าคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นมาเป็นงานของตนเอง หรือ ที่เรียกกันว่า Plagiarism นั่นเอง เพราะเราได้เขียนระบุลงไปในงานแล้ว ว่าข้อความส่วนนี้นำมาจากไหน เป็นแนวคิดของใคร

เรียนปริญญาโทยังไงให้ได้ดี

เรียนปริญญาโทยังไงให้ได้ดี

ตอนเรียนปริญญาตรี มีบางวิชาที่ว่ายากแล้ว แต่พอเรียนโทกลับยากยิ่งขึ้นไปอีก ไหนจะต้องเรียนไปทำงานไป งานกลุ่ม แล้วยังต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบให้ทันอีก แถมบางครั้งยังลางานวันสอบไม่ได้ จึงคำถามในใจหลายๆคนว่า เรียนโทยังไงให้ได้ดี

ทำอย่างไรกับเนื้อหาที่ยากและเข้มข้นขึ้น

ในฐานะที่ทีมงานเองก็ผ่านประสบการณ์การเรียนโทมาแล้ว จึงมีคำแนะนำสำหรับคนที่เรียนอยู่ ว่าเนื้อหาปริญญาโทยากกว่าปริญญาตรี อย่างวิชาเศรษฐศาสตร์ ปริญญาตรีเรียนเทอมละเล่ม ปริญญาโท เทอมเดียวเนื้อหารวม 2-3 เล่ม คำแนะนำสำหรับคนที่เรียนอยู่จึงแนะให้เรียนแล้ว พอมีเวลาว่างให้อ่านทบทวนไว้ก่อนจะดีที่สุด จะได้ไม่มีอะไรคอยรบกวนจิตใจอยู่เรื่อยๆ ว่าวิชานี้เรียนมาไม่รู้เรื่องเลย จะสอบกลางภาคแล้ว กลัวทำไม่ได้

ตัวอย่างเช่น วิชาการเงิน ทุกครั้งที่มีควิซให้ทำออนไลน์ ผู้เขียนจะอ่านทบทวนก่อนทำควิซเองทุกครั้ง พอจะสอบวิชานี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่หนักหนาย่ำแน่สำหรับเรา ต่างจากเพื่อนที่ไม่ได้อ่าน ใช้วิธีลอกควิซเพื่อนที่สอบได้คะแนนสูง พอสะสมเนื้อหาที่ไม่รู้เรื่องมาจนถึงวันสอบก็ย่ำแย่ ทำข้อสอบไม่ทันกัน บางข้อยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอยู่ในเนื้อหาส่วนไหน

การอ่านทบทวนอยู่เสมอยังมีประโยชน์ในแง่ที่ว่า หากช่วงสอบไม่มีเวลาอ่าน ลางานไม่ได้ ก็มีความรู้ความเข้าใจที่สะสมมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอจะอ่านก็ใช้เวลาทำความเข้าใจน้อยลง สามารถอ่านได้ทันในช่วงเวลาที่มีอยู่จำกัด

ถึงแม้จะเป็นคนเก่ง แต่หากไม่ขยัน อ่านหนังสือน้อย ถ้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มีแต่คนเก่งๆเข้ามาเรียนแล้ว ก็อาจจะได้คะแนนเพียงเท่า Mean ก็เป็นได้ เรื่องนี้จึงบอกได้เพียงว่า No input, no return. ถึงจะเป็นคนเก่งอย่างไร ก็ไม่สามารถมีผลการเรียนที่โดดเด่นได้ หากไม่มีความพากเพียรพยายาม ลงแรง ใส่ใจกับมัน

แล้วจะมีเวลาไปเจอเพื่อน แฟน หรือทำอย่างอื่นได้อย่างไร

มีรุ่นพี่คนหนึ่งได้บอกกับผู้เขียนในขณะที่เรียนโทอยู่ว่า ถึงแม้การเรียนจะเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก็อย่าถึงกับอ่านแทบเป็นแทบตาย จนละเลยโอกาสอื่นๆในชีวิต การมุ่งแต่จะเอาเรื่องเรียนให้ได้เกรดดี จนละเลยเรื่องส่วนตัว เช่นคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนรัก ครอบครัว หรือโอกาสในการร่วมกิจกรรมดีๆก็ตาม เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า หากมีการอ่านทบทวนสม่ำเสมอ แบ่งเวลาให้ดี ก็จะยังสามารถมีเวลาไปกินข้าว เจอเพื่อนๆ แฟน หรือครอบครัวได้ หรือแม้กระทั่งการเข้าร่วมกิจกรรมดีๆต่างๆก็ตาม ผู้เขียนเอง แม้จะต้องเป็นตัวแทนรุ่นไปร่วมกิจกรรม ก่อนการสอบสองวิชาที่ยาก ก็ยังสามารถทำข้อสอบได้ อ่านหนังสือทัน เพราะเคยอ่านทบทวนมาก่อนนี่เอง ซึ่งประสบการณ์ในการร่วมกิจกรรมครั้งนั้นก็เป็นประสบการณ์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อนที่ร่วมมือกัน หรือได้ทราบว่า หากเราไม่เครียด วิตกกังวลมากไป คงได้ทำตามแผนที่คิดไว้ และได้รางวัลมาครองสมความตั้งใจไปแล้ว

กับเรื่องงานที่หนักหนา ไม่มีเวลามาเรียน หยุดวันสอบไม่ได้ จะทำอย่างไร

มีเพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง ที่แม้กระทั่งวันที่ต้องไปสอบ นายยังสั่งงานต่อตอนเย็นอีก ทำให้เพื่อนคนนี้ต้องลุกเดินออกมาเลย แล้วฝากเพื่อนซื้อข้าวให้ นั่งทานหน้าห้องก่อนเข้าห้องสอบ แต่เพื่อนคนนี้ช่างโชคดี เพราะเพื่อนๆในกลุ่ม เวลามีชีทอะไร ก้จะ Xerox เผื่อกันอยู่แล้ว มีอะไรช่วยกันได้ ก็จะช่วย ทำให้เพื่อนคนนี้ยังรู้สึกดี มีกำลังใจในการสอบอยู่

เรื่องนี้จะเห็นว่า การได้เคยอ่านสะสม ทบทวนเอาไว้ ก็ยังเป็นคำตอบอีกเช่นกัน ที่สำคัญ คือ ตั้งสติ มีสมาธิก่อนเข้าห้องสอบ หากมัวแต่ Panic ตื่นตกใจ กังวล ก็คงมีผลต่อการทำข้อสอบอย่างแน่นอน มีวิชาหนึ่งที่ผู้เขียนจดโน้ต 1 กระดาษ A 4 เข้าห้องสอบตามที่อาจารย์อนุญาตไว้ไม่ทัน จดได้เพียงหน้ากว่าๆ ตอนนั้นอยากจะคร่ำครวญ แต่ก็รู้ว่าไม่มีประโยชน์ จึงทำใจให้สงบ พอสอบออกมาก็ยังได้ A อยู่ แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพราะอ่านเนื้อหาไว้ก่อนแล้วเข้าใจนั่นเอง

อยากบอกว่าเรื่องงานที่ Tight จัด ไม่มีเวลานี่ เราก็ได้แต่ทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้นั่นเอง ปล่อยวาง แต่ไม่ปล่อยเลย คือ ตั้งใจ ทำส่วนที่เราทำได้ให้ดี นอกเหนือจากนั้น เราไม่สามารถควบคุมผลที่ออกมาได้ จะออกมาเป็นอย่างไรก็ได้แต่เข้าใจกับมัน ทำครั้งต่อๆไปให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง

แล้วไหนจะงานกลุ่มมากมายอีก ทำอย่างไรดี

แนะนำให้ ในช่วงที่งานไม่ยุ่ง มีอะไรที่ทำได้ ก็ทำงานกลุ่มไปก่อน เพื่อที่ว่า ช่วงที่ยุ่ง ทำงานกลุ่มไม่ไหว เพื่อนจะได้เข้าใจ เห็นว่าเคยช่วยทำไปแล้ว ไม่ได้จะเอาเปรียบเค้า แต่ก็นั่นแหละ มีอะไรช่วยได้ก็ช่วย การฝึกทำอะไรให้เร็ว เช่น การทำงาน หรืองานกลุ่มก็เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง แต่งานที่ออกมาก็ต้องยังมีคุณภาพพอสมควรด้วย ไม่อย่างนั้นก็คงใช้ไม่ได้เหมือนกัน

ถ้ามีงานอะไรแล้วรีบลงมือทำ เคลียร์ให้เรียบร้อยดีแล้ว ก็จะได้มีเวลาส่วนตัวไปหลั่นล้ากับเพื่อน กับแฟน อยู่ที่บ้าน มีความสุขได้ด้วยค่ะ เป็น Work Study Life Balance อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม การทำงานกลุ่มในระดับปริญญาโท ควรเป็นการคุยงานกัน แบ่งงานโดยรวม แยกย้ายกันไปทำ จะช่วยได้ดีมาก เช่น 2 คนนี้ช่วยกันทำ 2 ข้อนี้ มีอะไรก็ปรึกษากันในกลุ่ม ช่วยกันทำได้ ทำให้ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเอาเวลามาผูกติดกัน ไม่ต้องนั่งทำพร้อมกันตลอด ต่างมีอิสระในการจัดการกับเวลาทำงานของตัวเอง สะดวก ไม่วุ่นวาย งานก็เสร็จเรียบร้อยดี แล้วยังมีเวลาไปทำอย่างอื่นกันอีกด้วย เย้เย้ (^o^)